หน้าเว็บ

เครื่อข่ายการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

เครื่อข่ายการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

1.โครงข่ายการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล(Integrated Services Digital Network: ISDN) คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข่าวสารทั้งในระบบภาพ เสียง ข้อมูลด้วยความเร็ว 64 Kbps ขึ้นไป ที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์โทรสารคอมพิวเตอร์สื่อสารตู้สาขาอัตโนมัติ (ISDN PABX), อุปกรณ์วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งใช้สำหรับประชุมทางไกลด้วย ระบบภาพและเสียงเครื่องโทรศัพท์ภาพ (Video Phone),การเชื่อมโยงกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN) โดยผ่านอุปกรณ์Bridge/Router รวมถึงการใช้งาน อุปกรณ์มัลติมีเดียที่ทันสมัยต่างๆ ในระบบดิจิตอล และในอนาคตอาจรวมถึงผู้ใช้บริการ Internet ตามบ้านอีกด้วย

2.โปรโตคอลตามรูปแบบของ ISO องค์การมาตรฐานสากลแห่งสหประชาชาติ (ISO) ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมต่อในระบบเปิด (OSI) ใช้เป็นชุดมาตรฐานในการสื่อสาร OSI สามารถทำงานได้ทั้งเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายเฉพาะรวมไปถึงเครือข่าย ISDN กสามารถใช้ชุดมาตรฐานในการสื่อสาร OSI ได้ โดยออกแบบระบบสื่อสารเป็นชั้น (Layer) ซึ่งเป็นพื้นฐานคุณสมบัติทางด้านสถาปัตยกรรมในคอมพิวเตอร์แบบจำลอง OSI แบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น แสดงดังรูปที่ 12.1




หน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นในOSIมีดังต่อไปนี้

      2.1 ชั้นกายภาพ (Physical layer) เป็น ชั้นที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของเครือข่ายสื่อสารถือเป็นชั้นเบื้องต้น ที่มีความสำคัญมากต้องเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในหลาย ๆ ด้านชนิดของสายเคเบิลในการเชื่อมต่อ เช่นสายโคแอกเชียล สายตีเกลียวหรือสายเส้นใยแสง เป็นต้น และการเลือกใช้ตัวกลางในการส่งผ่าน

      2.2ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link Layer) ทำ หน้าที่กำหนดรูปแบบของกรอบข้อมูล เช่น การเริ่มต้น การจบ ขนาด และชนิดของการส่ง เป็นต้น จัดการเกี่ยวกับข้อมูลที่ส่งมาจากชั้นกายภาพในเรื่อวงการสัมพันธ์กันของ ข้อมูล การควบคุมการผิดพลาดของข้อมูล ตรวจหาที่ผิดพลาดและจัดการแก้ไข ควบคุมการไหลของข้อมูลให้เหมาะกับสภาวะของเครื่องอุปกรณ์ด้านส่ง และด้านรับจัดการ เชื่อม โยง ให้เกิดการทำงานพร้อมกันระหว่างด้านส่งและด้านรับ

      2.3 ชั้นเครือข่าย (Network Layer) เป็น ชั้นให้บริการควบคุมกำหนดการสื่อสารการปฏิบัติการสื่อสาร การเลิกการสื่อสาร การจัดเตรียมเส้นทาง การมัลติเพล็กซ์ การปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมเครือข่ายโดยตัดสินใจเลือกเส้นทางส่งข้อมูล ชั้นเครือข่ายที่จัดเตรียมให้บริการไว้ 2ชนิดคือการบริการที่ปราศจากการเชื่อมต่อ (Connectionless Service)และการบริการเชื่อมต่อแบบกำหนดตำแหน่ง

ข่ายนี้จะทำการเชื่อมต่อระหว่าง แหล่งกำเนิดและจุดหลายปลายทางจากนั้นจึงเริ่มการส่งผ่านข้อมูล ส่วนการบริการที่ปราศจากการเชื่อมต่อข้อมูล จะไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งกำเนิดและจุดหมายปลายทาง แหล่งกำเนิดส่งข้อมูลออกไปโดยไม่สนใจว่าจุดหมายปลายทางจะพร้อมหรือไม่ ตัวอย่างเบื้องต้นของการบริการชนิดนี้ได้แก่ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิส์(E-Mail)

      2.4 ชั้นขนส่ง (Transport Layer) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่สนับสนุนการติดต่อสื่อสารของข้อมูลข่าวสารในชั้นโต้ตอบกัน นำข้อมูลมาแยกออกเป็นหน่วย (Unit) ย่อย ๆ ส่งต่อส่งไปยังชั้นเครือข่ายเพื่อทำการสื่อสาร และ ต้องแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงจุดหมายปลายทางมีความถูกต้องตามลำดับ อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อผิดพลาดที่ปลายทางจะต้องทำการส่งข้อมูลข่าวสารไปให้ใหม่ทันที

      2.5 ชั้นโต้ตอบกัน (Session Layer) เป็น ชั้นที่ทำหน้าสนับสนุนการสื่อสารระดับสูงขึ้นไปเช่นผู้ใช้ทำการติดต่อกับ เครือข่ายสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล เริ่มต้นต้องมีการจัดการในชั้นโต้ตอบกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ การสื่อสาร สามารถเลือกการโต้ตอบกันได้ 2ลักษณะ คือ แบบสองทางและแบบกึ่งสองทาง โดยทำให้เกิดความสัมพันธ์ ในการเข้าสู่ชั้นการโต้ตอบกันนี้ผู้ใช้ต้องกำหนดตำแหน่งจุดหมายปลายทางที่ ต้องการติดต่อกัน เมื่อสถานีงานติดต่อกับเซอร์เวอร์ เซอร์เวอร์ทำการต่อระบบพร้อมกับถามหาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จากนั้นก็สามารถติดต่อและโต้ตอบกันได้

      2.6 ชั้นการแสดง (Presentation Layer) เป็นชั้นทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทำการจัดการกับรูปแบบ (Format) ของ ข้อมูลข่าวสารโดยตรง ด้วยการจัดส่งรูปแบบที่ระบบเครื่องรับสามารถเข้าใจและใช้งานได้รูปแบบของ ข้อมูลข่าวสารจะถูกกำหนดโดยแต่ละส่วนของการเชื่อมต่อการสื่อสาร ฝ่าย หน้าที่ในชั้นนี้คือแปลงรหัสข้อมูลให้อยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย เช่นที่ปลายด้านหนึ่งของระบบส่งไฟล์ข้อมูลโดยใช้รหัสแอสกี (ASCII) ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งใช้ IBM รหัสแอ็บซีดิก(EBCDIC) ใน ชั้นการแสดงนี้จะทำการแปลงข้อมูลข่าวสารให้ใช้ร่วมกันได้ นอกจากนั้นยังอาจทำหน้าที่บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวกในการส่งผ่านข้อมูล

      2.7 ชั้นประยุกต์ใช้งาน (Application Layer) เป็น ชั้นสูงสุดที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้บริการในการประยุกต์ใช้งานของแต่ละคน ทำหน้าที่เตรียมการสำหรับการโยกย้ายข้อมูลในหลายทิศทางโดยจัดช่องทางสำหรับ ส่งผ่านไฟล์ข้อมูล กระจายผล และการส่งผ่านข้อมูลสำเร็จรูปไปยังโปรแกรมอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ การประยุกต์ใช้ในระดับนี้โดยทั่วไปไม่สามารถทำให้เป็นมาตรฐานได้ เช่น การเริ่มของแฟ้มข้อมูล การสิ้นสุดของแฟ้ม การตรวจสอบแฟ้มข้อมูล เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ เช่น การส่งผ่านข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรโตคอลส่งผ่านไฟล์ (File Transfer Protocal ; FTP) ใช้คอมพิวเตอร์บ้านจากระยะทางไกล (Telnet) ในกิจการสื่อสารข้อมูลของธนาคาร และในการสำรองที่นั่งของสายการบิน เป็นต้น

3.โครงสร้างของเครือข่าย ISDN

      เครือข่าย ISDN ที่ใช้ในระบบเครือข่ายดิจิตอลถูกนำไปใช้งานกับผู้ใช้และการสื่อสารโทรคมนาคมความเร็วสูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือISDN ชนิดแบนด์แคบ (Narrowband ISDN ) หรือ N-ISDN และ ISDNชนิดแบนด์กว้าง (Broadband ISDN) หรือ B-ISDN ซึ่ง CCITT ได้กำหนดมาตรฐานของ ISDN ในการจัดระบบต่อเชื่อมดิจิตอลจากปลายทางหนึ่งถึงอีกปลายทางหนึ่งใช้ในการบริการย่านกว้างรวมทั้งการส่งและไม่ส่งสัญญาณเสียง ISDN ได้กำหนดการเชื่อมต่อไว้ 2 ระดับ คือ ระดับการเชื่อมต่อแบบเบื้องต้น (Basic Rate Interface ; BRI) และระดับการเชื่อมต่อแบบปฐมภูมิ (Primary Rate Interface ; PRI)

      3.1 ระดับการเชื่อมต่อแบบเบื้องต้น (BRI) เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยช่องสัญญาณที่มีความเร็วในการรับส่ง 64 kbps (kilobit per second) จำนวน 2 ช่อง ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยสัญญาณเสียงและข้อมูลข่าวสาร และใช้ช่องสัญญาณที่มีความเร็วในการรับส่ง 16 kbpsจำนวน 1 ช่อง ใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียก การต่อสัญญาณที่มีความเร็วในการรับส่งการเชื่อมต่อแบบ BRI แสดงดังรูปที่12.2



      การประยุกต์ใช้งาน BRI เครือข่าย ISDN สามารถใช้บริการหลายลักษณะทั้งเสียง ภาพ และข้อมูลข่าวสาร บนสายโทรศัพท์เพียงคู่สายเดียวเครือข่าย ISDN แบบ BRI มีอัตราการเชื่อมต่อรวม 128 kbps

      3.2 ระดับการเชื่อมต่อแบบปฐมภูมิ (PRI) เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบไปด้วยช่องสัญญาณที่มีความเร็วในการรับส่ง 64 kbps เป็นจำนวนหลายๆ ช่องมีโครงสร้างแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น มีระบบรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วรวม 1,544 kbps มีจำนวน 24 ช่อง แบ่งเป็นใช้สำหรับการสื่อสารด้วยสัญญาณเสียงและข้อมูลข่าวสาร 23 ช่อง และใช้สำหรับการควบคุมช่องสัญญาณ 1 ช่อง อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มประเทศยุโรป มีระบบรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วรวม 2,048 kbps มีจำนวน31 ช่อง เป็นใช้สำหรับการสื่อสารด้วยสัญญาณเสียงและข้อมูลข่าวสาร30 ช่อง และใช้สำหรับการควบคุมช่องสัญญาณ 1 ช่อง



4.การบริการในเครือข่าย ISDN

      การบริการในเครือข่าย ISDN เป็น การบริการสื่อสารข้อมูลที่สามารถรวมเอาเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ หลายชนิดที่แตกต่างกัน เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ โดยการทำงานในระบบดิจิตอลพื้นฐานของเครือข่ายISDN ต้องคำนึง ถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ รูปแบบการอ้างในการเชื่อมต่อระดับโปรโตคอลที่ใช้ลักษณะของการสื่อสารสัญญาณ เสียง สัญญาณข้อมูล ลักษณะของสายนำสัญญาณที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ความสามารถที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเดิม การเก็บค่าบริการและการวางแผนขยายการให้บริการ การบริการต่าง ๆ ในเครือข่าย ISDN ประกอบด้วยเครือข่ายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรภาพ (Telefax) โทรสาร (Teletex) วิดีโอสาร(Videotex) ภาพเคลื่อนไหว (Image Transmission) คอมพิวเตอร์และเครือข่ายตู้สาขา (PABX) เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น