หน้าเว็บ

การสื่อสารแบบระบบเคลื่อนที่

การสื่อสารแบบระบบเคลื่อนที่
ประวัติโทรศัพท์เคลื่อนที่
      วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Radiotelephone) เป็น วิทยุโทรศัพท์แบบหนึ่งที่ใช้คลื่นวิทยุช่วยนำข่าวสารข้อมูลจากต้นทางไปยัง ไกล ๆ ปลายทางพร้อมกับสามารถพกพาเครื่องวิทยุโทรศัพท์ติดตัวไปด้วย ในขอบเขตพื้นที่ทำการที่คลื่นวิทยุเดินทางไปได้ถึง การทดลองวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.. 2483 มรการทดลองเรื่อยมาจนถึงปี พ.. 2489 บริษัท AT&T ได้ เปิดให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นรายแรก ในเวลานั้นวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังใช้งานได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ในขณะนั้นจะมีช่องสัญญาณให้ใช้งานเพียง 6 ช่องสัญญาณเท่านั้น การรับส่งข่าวสารข้อมูลในการผสมคลื่นแบบ AM เครือข่ายของการสื่อสารถูกจำกัดอย่างมากเพราะช่องสัญญาณแต่ละช่องอนุญาติให้ผู้ใช้บริการใช้ได้เพียงคนเดียว และ การติดต่อเลขหมายปลายทางต้องเรียกผ่านศูนย์ควบคุมให้พนักงานเป็นผู้เชื่อม ต่อสัญญาณให้วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบนี้มีข้อเสียหลายประการ ประการสำคัญคือ มีข้อจำกัดในเรื่องของความจุของช่องสัญญาณต่ำ ทำให้ระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้ต้องหยุดทำการไป เนื่อง จากมีความต้องการใช้วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบเพื่อให้ระบบมีความจุของสัญญาณสูงขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผสมคลื่นแบบ FM ใหม่ ให้มีแถบกว้างของช่องสัญญาณสื่อสารลดลงจากเดิม 120 kHz เหลือเพียง25 kHz ช่วย ให้จำนวนช่องสัญญาณใช้ในการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นในพื้นที่บริการยังได้แบ่งช่องว่างความถี่ ใช้งานหลายช่องความถี่ และได้มีการนำเอาความถี่ที่ใช้งานแล้วในพื้นที่หนึ่งกลับมาใช้งานใหม่ในอีก พื้นที่หนึ่ง สามารถใช้ช่องสัญญาณเพื่อติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมัยแรก ๆ
      ในปี พ.. 2490 ห้องทดลองเบลล์ได้จดสิทธิบัตรของระบบนี้ และได้พัฒนาระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลายมาเป็นโทรศัพท์แบบรวงผึ้ง(Cellular Mobile Telephone System) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Telephone) โครง สร้างของระบบประกอบด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณจำนวนมากประกอบกันเครือข่าย แต่ระบบยังไม่สามารถนำมาใช้งานในทางธุรกิจได้ จนการะทั้งถึงปี พ.. 2526 ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ได้ถูกติดตั้งและเปิดให้บริการ โดยพื้นที่ให้บริการทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า เซลล์ (Cell) แต่ละเซลล์จะมีรัศมีและจัดสรรความถี่ใช้งานเฉพาะเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีขนาดเล็กพ่วงต่อกันเป็นแบบรวงผึ้ง เนื่อง จากพื้นที่ให้บริการมีขนาดเล็กจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องส่งที่กำลังส่งสูง ๆ สามารถนำความถี่ซ้ำ ๆ ไปใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น ลักษณะโทรศัพท์เซลลูลาร์แสดงดังรูปที่ 7.2
การจัดระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      โทรศัพท์เซล ลูลาร์เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหเหมาะสมกับการใช้งานในระบบสื่อสารระบบวิทยุโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในปัจจุบัน สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างมากขึ้น ขยายขอบเขตการให้การบริการได้ต่อเนื่องไม่มีขีดจำกัด กล่าวคือในเขตพื้นที่มีประชากรหนาแน่นเช่น กรุงเทพฯ มีความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมาก ก็ออกแบบให้มีจำนวนเซลล์มากขึ้นเพื่อรับรองอัตราใช้บริการแบบทราฟฟิก (Traffic) ที่ เพิ่มขึ้น ส่วนในเขตพื้นที่ที่มีประชากรเบาบาง เช่นในต่างจังหวัดมีความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีจำนวนน้อยก็ออกแบบ ให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ละเซลล์ที่ติดกันจะใช้ย่านความถี่ที่แตกต่างกันเพื่อการนำความถี่กลับมา ใช้อีก (Frequency Reuse) โดยไม่เดการสอดแทรกและสูญหายของสัญญาณ เมื่อต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นก็แบ่งจำนวนเซลล์ออกแบบเป็นเซลล์ย่อย (Cell Splitting) ให้มากขึ้นตามต้องการ ทำให้เกิดการทำงานของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์สามารถนำความถี่กลับมาใช้งานอย่างคุ้มค่า ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ใช้หลักการติดตั้งเครื่องรับส่งวิทยุ (Transceiver) ที่กำลังส่งต่ำ ๆ จำนวนมาก กระจายเป็นจุด ๆ ไปทั่วพื้นที่ให้บริการ จุดที่ติดตั้งเครื่องรับส่งวิทยุเหล่านี้เรียกว่า สถานีฐาน (Base Station) หรืออาจเรียกว่าที่ตั้งเซลล์(Cell Site) ซึ่งทำหน้าที่เป็นทำการศูนย์กลางเซลล์ ลักษณะโครงสร้างระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      โครงสร้างของเครือข่ายระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์แต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งแต่ละเซลล์มีรัศมี่ทำการกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของการใช้ โทรศัพท์เซลลูลาร์ ถ้าการใช้โทรศัพท์เซลลูลาร์มีความหนาแน่นมากจำนวนเซลจะเพิ่มขึ้นรัศมีของแต่ ละเซลล์จะใหญ่ขึ้น มาตรฐานทั่วไปที่นิยมใช้ขนาดของเซลล์มีรัศมีตั้งแต่ 250 เมตร ถึง 30กิโลเมตร แต่ละเซลล์ที่ถูกแบ่งออกจะต้องเพิ่มสถานีฐานเข้าไปทุกเซลล์ เครื่องรับเครื่องส่งแต่ละเซลล์สามารถทำงานได้ที่กำลังส่งซึ่งครอบครุมอยู่ เฉพาะพื้นที่เล็ก ๆ ของเซลล์ตัวเองเท่านั้น ทำให้เครื่องรับส่งที่ใช้งานมีขนาดเล็กลง
การจัดระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์นั้น ต้องนำความถี่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีกในเซลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป จำนวนช่องสัญญาณมากน้อยขึ้นอยู่กับแถบคลื่นความถี่ที่จัดสรรให้โดยองค์กรที่ รับผิดชอบ และช่วงห่างของช่องสัญญาณที่เป็นมาตรฐานใช้กันอยู่เป็นเครือข่ายช่องสัญญาณ ในกลุ่มเซลล์ที่ติดกันจะต้องใช้ความถี่ที่แตกต่างกัน ระบบทำงานของโทรศัพท์เซลลูลาร์ต้องระมัดระวังการสอดแทรกของสัญญาณที่ใช้ความ ถี่เดียวกันในบริเวณที่ใกล้เคียง (Co-Channel Interference) ต้องให้อยู่ในขีดจำกัดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานการสื่อสารในระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      ในการนำความถี่เดิมมาใช้ใหม่ต้องเลือกจำนวนช่องเซลล์ที่แตกต่างกัน (K) ควรให้มีมากที่สุดที่จะจัดได้เท่าที่จำเป็นจะต้องไม่ให้เกิดการทับกันหรือเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์จำนวนช่องเซลล์ที่แตกต่าง (K) ที่ยอมรับได้และนิยมใช้งานคือ K = 4, 7, 12, และ 19 เซลล์เป็นต้น ลักษณะการวางเซลล์สัญญาณที่แตกต่างกัน
      การใช้งานของโทรศัพท์เซลล์ที่นิยมใช้ค่า K น้อยค่า เพราะค่า Kน้อย ค่านั้นทำให้จำนวนช่องสัญญาณสื่อสารของแต่ละเซลล์มีจำนวนมากขึ้น สามารถให้บริการผู้ใช้โทรศัพท์เซลลูลาร์ภายในเซลล์มากหลายเลข แต่ถ้าค่า K เพิ่ม ขึ้น ทำให้จำนวนช่องสัญญาณสื่อสารของแต่ละเซลล์มีจำนวนน้อยลง ให้บริการผู้ใช้โทรศัพท์เซลลูลาร์ภายในเซลล์น้อยหมายเลขลง ตัวอย่างเช่นถ้าระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์มีจำนวนช่องสัญญาณรวม280 ช่อง ใช้จำนวนเซลล์สัญญาณที่แตกต่างกัน K=4 ในแต่ละเซลล์มีช่องสัญญาณสื่อสาร 70 ช่อง หรือถ้าใช้จำนวนช่องเซลล์สัญญาณที่แตกต่างกัน K =7 ในแต่ละเซลล์มีช่องสัญญาณสื่อสาร 40 ช่อง เป็นต้
หลักการทำงานของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      การทำงานของ ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์จะต้องมีการทำงานพร้อมตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ สถานีฐาน และชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ ซึ่งทั้งหมดถูกต่อกันเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เซลลูลาร์ ขั้นตอนการทำงานดั้งนี้
1. เมื่อเครื่องโทรศัพท์เซล ลูลาร์เริ่มเปิดเครื่อง เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์จะตรวจสอบหาสัญญาณจากช่องสัญญาณที่มีอยู่ในบริเวณ นั้นเองอย่างอัตโนมัติ ปรับความถี่เข้าหาช่องสัญญาณที่มีคามแรงมากที่สุดของสถานีฐานที่อยู่ใกล้ที่ สุด และคงไว้ชั่วขณะหรือจนกว่าตัวเครื่องโทรศัพท์จะเคลื่อนที่ไปยังเครื่องอื่น ที่มีความแรงสัญญาณแรงกว่าเซลล์เดิม
2. เมื่อผู้ใช้เครื่องโทร ศัพท์เซลลูลาร์ต้องการติดต่อเลขหมายปลายทางหลังจากกดเลขหมายปลายทางเรียบ ร้อยและกดส่ง การหาช่องสัญญาณและความถี่ตัวสถานีฐานจะทำหน้าที่เลือกช่องสัญญาณโดย อัตโนมัติ ข้อมูลของสัญญาณควบคุมและสัญญาณเรียกถูกส่งในคลื่นวิทยุในระดับกำลังส่งต่ำ ออกจากเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ขึ้นไปในอากาศส่งไปยังสถานีฐานที่มีสายอากาศ ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งใกล้ที่สุด สถานีฐานจะเชื่อมต่ออยู่กับชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ ที่เป็นตัวควบคุมและสลับสายชิ่งสัญญาณสนทนา ซึ่งต่อกันเป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์เซลลูลาร์สัญญาณเรียกเข้าจะถูกส่งต่อ เข้าไปยังชุมสายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ หากผู้รับปลายทางเป็นโทรศัพท์บ้าน หรือต่อไปยังชุมสายเซลลูลาร์ระบบอื่นหรือระบบเดียวกัน เมื่อผู้รับปลายทางเป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ สัญญาณเรียกนี้ต้องส่งผ่านช่องปรับแต่ง (Setup Channel)
3. กรณีใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหาเครื่อง โทรศัพท์เซลลูลาร์ ชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา สามารถแยกได้ว่าเป็ตนการเรียกไปยังปลายทางชนิดใดจากกลุ่มรหัสเลขหมายนำหน้า ซึ่งถ้าเป็นเครื่องโทรศัพท์ต้องขึ้นต้นด้วยเลข 01 หรือ 09 ตาม ด้วยเลขหมายโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ต้องส่งข้อมูลสั้น ๆ เข้าหาเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ตามข้อมูลของหมายเลขนั้นในการค้นหาเครื่อง งลูกข่าย แต่ละสถานีฐานทำการส่งข้อความเรียกผ่านทางช่องปรับแต่ง เมื่อเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์รับทราบว่ามีผู้เรียกเข้าหาตัวเองจะทำการ ติดต่อกลับผ่านทางบช่องปรับแต่ง สถานีฐานจัดการหาช่องสัญญาณที่ว่างให้สามารถเชื่อมต่อการสนทนาได้ เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ทำการจูนหาความถี่ของช่องสัญญาณตามคำสั่งของสถานี ฐาน
4. การเคลื่อนที่เปลี่ยน เซลล์ของเครื่องเซลลูลาร์ ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์สามารถทราบได้ว่าสัญญาณการติดต่อของเครื่องโทรศัพท์ เซลลูลาร์ที่กำลังใช้งานอยู่ไปยังเซลล์ถัดไปโดยอัตโนมัติในทิศทางที่เครื่อง โทรศัพท์เซลลูลาร์เดินทางไป เรียกวิธีการนี้ว่า แฮนด์ออฟ (Handoff) หรือแฮนด์โอเวอร์ (Handover) วิธีการแฮนด์ออฟหรือแฮนด์โอเวอร์

5. การสิ้นสุดการสนทนา เมื่อใช้เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์กดปุ่มสิ้นสุดการสนทนา มีสัญญาณสิ้นสุดการสนทนาส่งไปยังสถานีฐาน สัญญาณจะถูกส่งต่อไปยังชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ ชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ทำการยกเลิกใช้ช่องสัญญาณดังกล่าว และสถานีฐานก็ยกเลิกการใช้ช่องสัญญาณเช่น เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์จะกลับไปวัดสัญญาณช่องปรับแต่งตามเดิม
โครงสร้างของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์
      โครงสร้าง เบื้องต้นของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คล้ายกันไม่ว่าระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์จะเป็นระบบใดก็ตามส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ สถานีฐาน ชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ สายอากาศ และสายส่งสัญญาณ ลักษณะโครงสร้างเบื้องต้นและการต่อระบบ แสดงดังรูปที่ 7.6

เครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ ประกอบด้วย หน่วยควบคุม ตัวรับส่งคลื่นวิทยุ ระบบสายอากาศ และแบตเตอรี่ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ สามารถตรวจสอบระบบสัญญาณในบริเวณที่เครื่องอยู่ได้ มีโปรแกรมติดต่อกับสถานีฐานและชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์
สถานีฐาน เป็นสถานีประจำเซลล์ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์กับชุมสายโทร ศัพท์เซลลูลาร์ ภายในสถานีฐานประกอบด้วย หน่วยควบคุมตัวประมวลผลสัญญาณคลื่นวิทยุ ตัวรับเครื่องวิทยุ ระบบสายอากาศและแหล่งจ่ายไฟ
ชุมสายโทรศัพท์เซลลูลาร์ เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของระบบ ควบคุมทั้งสถานีฐาน และตัวเครื่องเซลลูลาร์ มีการต่อเชื่อมระบบกับชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยในการควบคุมขั้นตอนการโทรศัพท์ การเก็บข้อมูลการโทรศัพท์ การเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อเซลล์ และตัดต่อระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์กับระบบโทรศัพท์อื่นๆ
การพัฒนาระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ การพัฒนา      โทรศัพท์เคลื่อนที่จากยุคที่ 1 (1G) ถึงยุค 3 (3G)
ยุค 1G เป็น ยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การ แบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณเพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น
      ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMAคือ การแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือนIP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
      ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดย มุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA
      นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การ พัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยี เก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1Gและ 2G โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS-General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการ
พัฒนาต่อจากGPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE-Enhanced Data Rate for GSM Evolution

จากข้อมูลพอสรุปได้ ดังนี้
-ยุค 1G ยังมีปัญหาเรื่องช่องสัญญาณและอุปกรณ์ที่ใช้จึงมีขนาดใหญ่ ( ดูได้จากตัวโทรศัพ ) และยังเป็นการส่งข้อมูลได้เฉพาะ เสียง ตัวอักษร 
-ยุค 2G มีสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจาก 1G โดยสิ้นเชิงที่นอกเหนือไปจากการส่งข้อมุลตัวอักษร และเสียง สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ GPRS และการรองรับมัลติมีเดี่ย บนช่องทางในระบบสื่อสารแบบไร้สาย
-ยุค 3G สิ่งที่แตกต่างจาก 2G เห็นได้หลักๆ คือ ความเร็วในการส่งข้อมูล ทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ ทำให้สามารถใช้ VDO Call ได้ อันเนื่องมาจากความเร็วในการส่งสัญญาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น